Available courses
ข่าวและประกาศของเว็บ
เราจะออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ได้อย่างไร ในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- เป็นหนังสือที่เขียนโดย Joi Ito และ Jeff Howe ซึ่งนำเสนอแนวคิดและหลักการในการปรับตัวและอยู่รอดในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่แน่นอน
- เป็นหนังสือที่ให้แนวคิดและหลักการที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคนที่ต้องการปรับตัวและประสบความสำเร็จในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หนังสือเล่มนี้กระตุ้นให้เราคิดต่าง มองเห็นโอกาสในความไม่แน่นอน และพัฒนาความยืดหยุ่นเพื่อที่จะเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง
- ดังนั้น จึงเห็นแนวทางที่จะประยุกต์แนวคิดและหลักการจากหนังสือเล่มนี้ที่เน้นทางด้านธุรกิจ มาเป็นบริบททางการศึกษา จาก Whiplash – How to survive our faster future เป็น How to learn (with learning experience design: LXD) our faster future ดังเอกสารแนบ
👉 ดาวน์โหลดเอกสาร
วิทยากรบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ ทะยานสู่ความสำเร็จทางธุรกิจไปกับเทคโนโลยีอัจฉริยะและบล็อกเชน ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั่วประเทศ
วิทยากรบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ ทะยานสู่ความสำเร็จทางธุรกิจไปกับเทคโนโลยีอัจฉริยะและบล็อกเชน ให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจ การทำแผนภาพการสร้างคุณค่า (The Value Proposition Canvas) การทำแผนภาพแบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model Canvas) และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอัจฉริยะและเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อนำมาปรับใช้กับการประกอบการธุรกิจในยุคพลิกผันให้เกิดความแข็งแกร่งและยั่งยืนซึ่งธุรกิจ SMEs เป็นการสร้างความเสมอภาคเศรษฐกิจ สนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างนวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขันและส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โดยการบรรยายและถ่ายทอดองค์ความรู้จัดทั้งหมด 5 รุ่น ทั่วประเทศ ได้แก่
- รุ่นที่ 1 ภาคกลางจัดที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11-10 พฤษภาคม 2566
- รุ่นที่ 2 ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 18-19 พฤษภาคม 2566
- รุ่นที่ 3 ภาคเหนือจัดที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 12-13 มิถุนายน 2566
- รุ่นที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 26-27 มิถุนายน 2566
- รุ่นที่ 5 ภาคใต้จัดที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2566
โดยอยู่ภายใต้การดำเนินการของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โครงการวิจัยย่อย เรื่อง "การพัฒนาศักยภาพดวามเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอัจฉริยะในการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)" โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่ง เสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) (งบประมาณด้าน ววน.) ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เป็นปีที่ 2
ChatGPT กับ Google Sheet
ร่วมพิธีเปิดและเป็นวิทยากรการบรรยายพิเศษหัวข้อ Mega Trends 2023
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับเชิญร่วมพิธีเปิดและเป็นวิทยากรการบรรยายพิเศษหัวข้อ Mega Trends 2023 "แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสำคัญของโลกกับอนาคตนวัตกรรมอุตสาหกรรมไทย" ในงานแสดงเทคโนโลยี เครื่องจักรอัตโนมัติ เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์ โซลูชั่นด้านระบบบริหารจัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ครบวงจร Thailand Industrial Fair 2023 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC)
การออกแบบห้องเรียนแบบไฮบริด (Hybrid Classroom) ในเขตการเรียนรู้แบบไฮเฟล็ก (HyFlex Learning)
HyFlex Learning
ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย
HyFlex Learning คำว่า HyFlex มาจากคำว่า
- Hybrid Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนรู้แบบเผชิญหน้า ณ เวลาเดียวกัน หรือ Face-to-Face Driving โดยมีสองรูปแบบให้ผู้เรียนได้เลือกตามความเหมาะสมของตนเอง ประกอบไปด้วย เข้าเรียนในชั้นเรียนปกติ (On Site - Synchronous) หรือ เลือกเข้าชั้นเรียนเสมือน (Online - Remote Synchronous) ผ่านระบบการประชุมทางไกล เช่น Zoom MS-TEAMS Google Meet Webex เป็นต้น
- Flexible Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นต่อผู้เรียน โดยผู้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ควรจัดโครงสร้างหลักสูตรให้เกิดความยืดหยุ่น (Flexible Course Structure) สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน หรือ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของตัวผู้เรียนเองได้ เช่น การให้ผู้เรียนมีสิทธิ์เลือกรูปแบบการเรียนรู้แบบวิดีโอตามประสงค์ On Demand ที่บันทึกไว้ ซึ่งเป็นสื่อการเรียนรู้นอกเหนือจาก Hybrid Learning ดังนั้นผู้เรียนจะมี 3 ตัวเลือกในการเรียนรู้จากผู้สอน ซึ่งเป็นการขยายโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียน (Expanding Learning Opportunities) และเมื่อผู้เรียนมีตัวเลือกการเรียนรู้หลายวิธี เป็นผลให้การวัดและการประเมินผลผู้เรียนจำเป็นต้องมีหลากหลายวิธีเช่นกัน เพื่อเป้าหมายคือผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนที่พึงประสงค์ (Learning Outcome)
หลักการการออกแบบหลักสูตรที่เป็นรูปแบบ HyFlex มีเสาหลักสำคัญที่ต้องคำนึง 4 เสา ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ Student/Learner Centricดังนี้
- Learner Choice ผู้เรียนต้องมีตัวเลือกการเรียนรู้ เพื่อโอกาสทางการเรียนรู้ เช่น เปิดโอกาสเลือกเรียนรู้ ดังนี้
- On-Site Classroom หรือ Sychronous เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ คือ การได้รับผลป้อนกลับแบบทันทีทันใด (Immediate Feedback) ทั้งผู้เรียนและผู้สอน
- Online หรือ Virtual Classroom หรือ Remote Asynchronous เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ คือ การติดต่อสื่อสารทางไกลได้ และสามารถได้รับผลป้อนกลับแบบทันทีทันใด (Immediate Feedback) ทั้งผู้เรียนและผู้สอน แต่ผู้เรียนและผู้สอนต้องมีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงตัวของผู้เรียนเองจำเป็นต้องมีวินัย และมีสมาธิจดจ่อ
- On-Demand หรือ Video On-Demand หรือ Remote Asynchronous เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ คือ ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ ณ เวลาเดียวกับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยผู้เรียนสามารถดูคลิปวิดีโอการสอนที่ถูกบันทึกไว้ระหว่างการสอนได้ แต่การเรียนวิธีนี้ไม่ได้รับผลการป้อนกลับแบบทันทีทันใด อาจใช้การสอบถามผู้สอนภายหลังผ่านทางการแชท อีเมล เป็นต้น ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงตัวของผู้เรียนเองจำเป็นต้องมีวินัย ความรับผิดชอบ และมีสมาธิจดจ่อสูง
- Equivalency การเรียนรู้ต้องได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่เท่าเทียมกัน ผ่านการสร้างหลักสูตรที่มีการออกแบบการวัดและการประเมินผลที่หลากหลายเหมาะกับผู้เรียนและรูปแบบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเลือก (On Site/Online/On Demand)
- Reusability สื่อการสอนและการบรรยายต้องอยู่ในรูปแบบที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เสมอ เช่น มีการบันทึกระหว่างสอนเพื่อสร้างเป็นสื่อ On Demad เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความประสงค์ทบทวน หรือ ผู้ที่มีความประสงค์เรียนนอกเวลาได้มีโอกาสในการเรียนรู้
- Accessibility สามารถเข้าถึงเนื้อหาและกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ได้เสมอ เช่น ผู้เรียนที่เรียนในห้องเรียนและผู้เรียนในห้องเรียนออนไลน์สามารถทำกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน/เพื่อร่วมห้อง ได้ ผ่านทาง กระดานออนไลน์ หรือ ผู้เรียนทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ก่อนเรียน หรือที่เรียกว่า Pre-Class Content เพื่อรับข้อมูล สารสนเทศ เนื้อหา ไอเดีย และใช้ในการพิจารณาตัดสินใจเลือกรูปแบบการเรียนรู้ (On Site/Online/On Demand) ที่เหมาะสมกับหัวข้อนั้นๆ หรือ รายวิชานั้นๆ
อ้างอิง: Universal Principles for HyFlex Course Design: Four Pillars จาก https://edtechbooks.org/hyflex/hyflex_values
แบบจำลองการจัดการเรียนรู้ HyFlex Learning แบบใฝ่รู้ผ่านการสอนเชิงปฏิสัมพันธ์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
องค์ประกอบของการจัดการรูปแบบการเรียนรู้แบบ HyFlex ร่วมกับ Active-Interactive Learning มีดังนี้
- ความพร้อมและการวางแผน ประกอบด้วย
- บริบท (Context) คือ บริบทของการสอนนั้นๆ เช่น การสอนในรูปแบบการศึกษา (Education) การสอนในรูปแบบการเรียนรู้ (Learning) การสอนในรายวิชาต่างๆ สภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอน นโยบาย วิสัยทัศน์ คุณค่าของการจัดการเรียนรู้นั้นๆ เป็นต้น
- ความพร้อมของการสอน/บรรยาย (Instruction/Lecture Readiness) เช่น ผู้สอน/ผู้บรรยาย (Instructor/Lecturer Readiness) เป็นส่วนที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ HyFlex ซึ่งจะต้องมีทักษะการคิดที่ยืดหยุ่น มีความคิดสร้างสรรค์ หมั่นคิดหารูปแบบการสอนที่หลากหลาย ไม่ยึดติดการสอนและถ่ายโอนความรู้รูปแบบเดิมๆ มีทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อจัดการเรียนรู้ มีทักษะการจัดการประสบการณ์ผู้เรียน รวมถึงความพร้อมทางด้านห้องเรียน เครื่องมือ สัญญาณอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- การจัดการรายวิชา เช่น การวางแผนการสอน เวลา หัวข้อ กิจกรรม การมอบหมายงาน การวัด และการประเมินผล
- ผลลัพธ์และประสบการณ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์
- เนื้อหาก่อนเรียน (Pre-Class Content) เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสรับข้อมูล สารสนเทศ เนื้อหา ไอเดีย ก่อนการเรียนในชั้นเรียนและใช้ในการพิจารณาตัดสินใจเลือกรูปแบบการเรียนรู้ (On Site/Online/On Demand) ที่เหมาะสมกับหัวข้อนั้นๆ หรือ รายวิชานั้นๆ โดยเนื้อหาก่อนเรียนอาจอยู่ในรูปแบบของคลิปวิดีโอ เอกสารสำหรับอ่าน หรือหากต้องการให้มีความน่าสนใจ ควรใช้สื่อการเรียนรู้เชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Knowledge Media) ในการถ่ายโอนความรู้การเรียนการสอน (Instructions) ควรมีการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อจัดการเรียนการสอนเชิงปฏิสัมพันธ์ มีการทำกิจกรรมการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) ผ่านการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน-ผู้สอน ผู้เรียน-ผู้เรียน ผู้เรียน-เนื้อหา รวมถึงผู้สอนควรวัดผลอยู่เสมอ
- กิจกรรมหลังเรียน (Post-Class Activities) เพื่อเป็นการวัดและประเมินว่าผู้เรียนที่ผ่านการเรียนใน 3 รูปแบบ (On-Stite/Online/On-Demand) จะมีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกัน โดยผู้เรียนควรต้องสรุปได้ว่า ได้เรียนรู้อะไร? ผ่าน Reflective Dialouge เช่น Minute Paper หรือ การสรุปสั้นๆ และ/หรือ การให้ทำผลงาน ใบงาน เพื่อทบทวน ฝึกฝน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง รวมถึงอาจเตรียมเนื้อหาที่รวมคลิปการสอนและสื่อการเรียนรู้เชิงปฏิสัมพันธ์ รวมถึงเนื้อหา ไฟล์จำเป็นเพิ่มเติมให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อได้
ความหมายของ HyFlex จาก Dictionary ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
บทความโดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์
อาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
แหล่งที่ได้นำบทความนี้ไปใช้อ้างอิง
- https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/article/view/261313/177014
- https://www.facebook.com/AksornACT/posts/-hyflex-learning-เทรนด์การศึกษาน่าจับตามองประจำปี-2567hyflex-learning-คือ-การรวม/740612821434250/
วิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะอาจารย์ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
วิทยากรแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะอาจารย์ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และ รศ.ดร.ปณิตา วรรณพิรุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ หัวข้อ Learning Experience Design and Development in NEXT Normal Education Reimagined, 29 สิงหาคม 2565
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานและนวัตกรรมทางวิชาการ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
วิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
วิทยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะอาจารย์และนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม ใน โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะดิจิทัลในการทำงานแบบร่วมมือด้วยเทคโนโลยีคลาวด์ วันที่ 25 สิงหาคม 2565 ณ ห้องไอยเรศ อาคารเรียนภาควิชาดุริยางค์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
คณะวิทยากร
👨🏻🏫 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์
- รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนานวัตกรรมฯ สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์
- อาจารย์ประจำ สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
👨🏻🏫 อาจารย์พรรษวุฒิ ชีระภากรม
- นักวิชาการศึกษา ฝ่ายบริการการศึกษา สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา